เหล็กกัลวาไนซ์ ประเภทการใช้งานและข้อแนะนำในการใช้งาน



ปัจจุบันนิยมใช้เหล็กกัลวาไนซ์เนื่องจากสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ทั้งอากาศเป็นมลพิษ ทั้งฝนกรด ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ดังนั้น โครงสร้างเหล็กที่ต้องใช้ในงานภายนอกอาคาร หรืองาน Outdoor สมควรอย่างยิ่งที่จะมีวิธีการในการป้องกันสนิม ทั้งนี้เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้างเหล็กดังกล่าว ซึ่งการชุบ กัลวาไนซ์ เป็นวิธีการที่ประหยัดและคุ้มค่ากับผลที่ได้



เหล็กกัลวาไนซ์ (Galvanized Steel) เป็นเหล็กที่วิธีการผ่านขั้นตอนการชุบเคลือบด้วยสังกะสี เพื่อป้องกันสนิม ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (Electrogalvanizing), การเคลือบด้วยวิธีทางกล (Mechanical Coatings), การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน (Zinc Spraying), การทาด้วยสีฝุ่นสังกะสี (Zinc-Rich Paints), การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dip Galvanizing), การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง (Continuous Hot Dip Galvanizing), การเคลือบด้วยเทคนิคเชอร์ราไดซ์ซิ่ง (Sherardizing)) เป็นต้น

เหล็กกัลวาไนซ์ แบ่งตามความหนาได้เป็น 4 ประเภท (หนาสุด-บางสุด)


คาดเขียว (หนาสุด)
คาดแดง,
คาดน้ำเงิน,
คาดเหลือง (บางสุด)



ท่อกัลวาไนซ์/เหล็กกัลวาไนซ์ แยกชนิดการใช้งาน ในการทำท่อระบายน้ำหรือท่อน้ำทิ้ง ดังนี้
ชนิดบาง ใช้ในการต่อท่อระบายน้ำทิ้งในอาคารทั่วไป
ชนิดหนา ใช้ในการต่อท่อระบายน้ำที่ต่อใต้พื้นถนน หรือบริเวณที่รับน้ำหนักกด หรือสั่นสะเทือนมาก

ท่อกัลวาไนซ์/เหล็กกัลวาไนซ์ ในการทำท่อระบายน้ำหรือท่อน้ำทิ้ง ผลิตออกมาขนาดเล็กสุดคือ 2 นิ้ว (ความโตภายใน) แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปได้แก่ขนาด 3นิ้ว 4นิ้ว มีทั้งชนิดบ่ารับเดี่ยว และบ่ารับคู่


ข้อแนะนำในการใช้งานเหล็กกัลวาไนซ์


BS-S (คาดเหลือง) BS-M (คาดน้ำเงิน) BS-H (คาดแดง) สำหรับงานเดินท่อประปา งานโครงหลังคา งานเดินสายไฟนอกอาคาร เพราะไม่เป็นสนิม และแข็งแรง นอกจากพ่นเคลือบสีรองพื้นท่อเหล็กดำที่บริษัทผลิตได้ นำมาผ่านขั้นตอนการชุบเคลือบด้วยสังกะสี โดยท่อชุบสังกะสีที่ได้ จะมีคุณสมบัติการป้องกันการเกิดสนิม และผุกร่อน มีความทนทาน และอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าท่อเหล็กดำที่เคลือบและไม่เคลือบสีรองพื้น หล็กกัลวาไนซ์ จึงควรในงานหรือบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการผุกร่อนของเหล็กสูง เช่น เครื่องจักรภายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานผลิตเคมีภัณฑ์และสิ่งปลูกสร้างบริเวณริมทะเล อย่างไรก็ตาม ท่อเหล็กชุบสังกะสีจะมีต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่ายสูงกว่าท่อดำค่อนข้างมาก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ท่อเหลี่ยม แป๊ปเหลี่ยม เหล็กกล่องมาตรฐานตลาด,จุดประสงค์หลัก,การใช้งาน,จุดเด่น

เหล็กข้ออ้อยคืออะไร

ระบบการจ่ายน้ำภายในบ้านด้วยการใช้ท่อกลม/แป๊ปกลม