บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2017

หล่อคอนกรีตเสาบ้านด้วยไม้อัดฟิล์มดำ

รูปภาพ
หล่อคอนกรีตเสาบ้านด้วยไม้อัดฟิล์มดำ การหล่อคอนกรีตเสาบ้านด้วย ไม้อัดฟิล์มดำ นั้นต้องมีการประกอบหรือตั้งไม้แบบสำหรับหล่อเสา การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่จะนำมาทำแบบหล่อคอนกรีตเสาบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำแบบหล่อเสามีอยู่ 5 ชนิดคือ ผลิตจากไม้ (ไม้แบบ) ผลิตจากไม้แปรรูป เป็นวัสดุที่นิยมใช้กับงานก่อสร้างอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพราะสามารถหาซื้อได้ง่าย มีคุณสมบัติดี สามารถตัดต่อประกอบเป็นรูปร่างได้ มีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ผลิตจากไม้อัดฟิล์มดำ   มีลักษณะบาง นิยมให้แทนไม้กระดาน เหมาะสาหรับงานแบบหล่อที่มีพื้นที่กว้าง เช่น หล่อพื้น หรือผนังคอนกรีต แบบเหล็ก หรือ แบบหล่อที่ผลิตจากเหล็ก  เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง ข้อดีของการใช้แบบหล่อเหล็กคือจะได้พื้นผิวคอนกรีตที่สวยงาม แบบเหล็กสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ประหยัดค่าแบบหล่อ แบบหล่อพลาสติก  ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากมีราคาแพง มักจะนำมาใช้กับงานที่ต้องการคุณภาพผิวงานที่สวยงามและสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ขั้นตอนการสร้างเสา 1. ตรวจสอบแบบว่าเสามีขนาด ความยาว ความสูงเท่าไหร่ 2.

เหล็กเส้นในงานก่อสร้าง “เหล็กเส้นข้ออ้อย”

รูปภาพ
เหล็กเส้นในงานก่อสร้าง “เหล็กเส้นข้ออ้อย”  เหล็กเส้นข้ออ้อย หรือ เหล็กเสริม สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กและงานก่ออิฐทั่วไป โดยใช้ในการเพิ่มความสามารถในการรับแรงกับโครงสร้าง ในงานก่อสร้างจึงมีเหล็กข้ออ้อยเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งเป็นความรู้ที่ควรทราบถึงวิธีการใช้งาน และการเลือกซื้อ เพื่อให้งานการสร้างบ้านมีคุณภาพในระยะยาว ลักษณะเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, SD50 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น DB10(หาในตลาดทั่วไปยาก), DB12(หมายถึง Deformed Bar ขนาด ศก.12มม.), DB16, DB20, DB25, DB28, DB32 ผิวของเหล็กเส้นจะมีลักษณะเป็นปล้องเพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ถึง 33 มิลลิเมตร มีความยาวโดยทั่วไป 10 และ 12เมตรเหล็กเส้นข้ออ้อย เป็นเหล็ก ที่มีแรงยึดเกาะที่ผิวสูง เหมาะสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องการความแข็งแรงสูง โดยไม่จำเป็นต้องออกแบบให้โครงสร้างใหญ่โต มีคาร์บอน 0.28% ฟอสฟอรัส 0.058% และกำมะถัน 0.058% การเลือกใช้เหล็กเส้นข้ออ้อย การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30

เหล็กตัวซี เหล็กรูปพรรณทำโครงหลังคาบ้าน

รูปภาพ
เหล็กตัวซี เหล็กรูปพรรณทำโครงหลังคาบ้าน     เหล็กตัวซี (C Light Lip Channel) คืออะไร เหล็กตัวซี คือเหล็กชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาแปรรูปด้วยขั้นตอนการรีดร้อน ให้ได้สัดส่วน เหล็กตัวซีนั้นมีความยาวตามกฏเกณฑ์คือ 6 เมตร หน้าที่ของเหล็กตัวซีหลักๆคือ จะใช้สำหรับงานทำโครงหลังคา พร้อมทั้ง เส้าค้ำยันที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก เป็นต้น เพราะว่าเหล็กตัวซีเป็นเหล็กที่ใช้สำหรับการทำโครงร่างหลังคา จึงทำให้การผลิตเหล็กตัวซีนั้นจะต้องมีคุณลักษณะที่เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัย ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก 1228-2549) ซึ่งเราสามารถจำแนกประเภทของเหล็กตัวซีตามตลาดได้จากสี ขนาด และน้ำหนักของเหล็กตัวซี ซึ่งจะมี สี ขาว ฟ้า แดง เหลือง น้ำเงิน แบ่งออกตามความหนาของเหล็กตัวซี นิยมใช้ทำแปหลังคาและเสาค้ำยันที่รับน้ำหนักไม่มากนัก มีความยาว 6 ม. และมีขนาดมาตรฐานเริ่มต้นคือ 50x30x10x1.6 (AxBxHxTxT2) มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (แปหลังคา แปซี โครงตัวซี) เหล็กรูปพรรณนี้ เป็นเหล็กรีดร้อน (Hot Rolled) ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อนำไปใช้เป็นโครงสร้างอาคารต่างๆ ทำให้งานก่อสร้าง เสร็จได้รวดเร็วกว่างานคอนกรีต และทำให้ได้โครงสร้างที