เหล็กเส้นในงานก่อสร้าง “เหล็กเส้นข้ออ้อย”

เหล็กเส้น-เหล็กข้ออ้อย-เหล็กเส้นข้ออ้อย
เหล็กเส้นในงานก่อสร้าง “เหล็กเส้นข้ออ้อย” 


เหล็กเส้นข้ออ้อย หรือ เหล็กเสริม สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กและงานก่ออิฐทั่วไป โดยใช้ในการเพิ่มความสามารถในการรับแรงกับโครงสร้าง ในงานก่อสร้างจึงมีเหล็กข้ออ้อยเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งเป็นความรู้ที่ควรทราบถึงวิธีการใช้งาน และการเลือกซื้อ เพื่อให้งานการสร้างบ้านมีคุณภาพในระยะยาว

ลักษณะเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, SD50

มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น DB10(หาในตลาดทั่วไปยาก), DB12(หมายถึง Deformed Bar ขนาด ศก.12มม.), DB16, DB20, DB25, DB28, DB32 ผิวของเหล็กเส้นจะมีลักษณะเป็นปล้องเพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ถึง 33 มิลลิเมตร มีความยาวโดยทั่วไป 10 และ 12เมตรเหล็กเส้นข้ออ้อย เป็นเหล็ก ที่มีแรงยึดเกาะที่ผิวสูง เหมาะสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องการความแข็งแรงสูง โดยไม่จำเป็นต้องออกแบบให้โครงสร้างใหญ่โต มีคาร์บอน 0.28% ฟอสฟอรัส 0.058% และกำมะถัน 0.058%

การเลือกใช้เหล็กเส้นข้ออ้อย

การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ ลักษณะของเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ดี ต้องมีระยะบั้งที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีสนิมรอยตำหนิ ไม่มีรอยปริและแตกร้าว ชนิดและความแตกต่างของเหล็กเส้น ความยาวโดยปกติที่ขายกันในท้องตลาด คือ 10 ม. แต่อาจจะสั่งพิเศษ เช่น 12 ม. หรือมากกว่านั้นก็ต้องสั่งทำพิเศษ

เหล็กข้ออ้อยที่ดี มีคุณภาพจะตรวจสอบได้อย่างไร

เหล็กเส้นข้อ้อยก็เปรียบเหมือนกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป คือจะต้องมีป้ายฉลากบอกรายละเอียดสินค้า เมื่อมีการผลิตเหล็กเส้นออกจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องติดป้ายเหล็กเพื่อบอกรายละเอียดที่เป็นข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า (Type), ชั้นคุณภาพ (Grade), ขนาด(Size), ความยาว (Length), วันเวลาที่ผลิต (Date/Time) และเครื่องหมาย มอก.

โดยทั่วไปแล้วมีให้เลือกหลายชนิด มิใช่มีเพียงเหล็กกลมและเหล็กข้ออ้อยเพียงเท่านั้น ซึ่งการเลือกซื้อโดยผู้รับเหมานั้น จะถูกเลือกโดย 2 แบบคือ เหล็กเบา และเหล็กเต็ม เนื่องจากน้ำหนักที่แตกต่างกัน แน่นอนว่า ส่วนใหญ่แล้วผู้รับเหมามักเลือกซื้อเหล็กเบาเสียมากกว่า เพราะพื้นที่หน้าตัดไม่เต็มมาตรฐาน เหล็กข้ออ้อยก็เช่นกัน มีทั้งเหล็กเบาและเหล็กเต็ม นี่เป็นเพียงตัวอย่างข้างต้นที่พบเห็นได้บ่อยเท่านั้น ดังนั้น หากท่านเป็นเจ้าของบ้าน การเลือกผู้รับเหมาที่เชื่อถือได้ จริงเป็นอีกเหตุผลสำคัญ โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนเลือกซื้อวัสดุนั่นเอง ซึ่งจะทำให้เราไม่ถูกเอาเปรียบเรื่องราคา รวมถึงได้บ้านในคุณภาพที่เราต้องการ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ท่อเหลี่ยม แป๊ปเหลี่ยม เหล็กกล่องมาตรฐานตลาด,จุดประสงค์หลัก,การใช้งาน,จุดเด่น

เหล็กข้ออ้อยคืออะไร

ระบบการจ่ายน้ำภายในบ้านด้วยการใช้ท่อกลม/แป๊ปกลม